http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งแก้ปัญหา "ไอคิว-อีคิว" หลังพบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20%

เร่งแก้ปัญหา "ไอคิว-อีคิว" หลังพบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20%

กรมสุขภาพจิต เร่งเพิ่มไอคิว-อีคิว เด็กปฐมวัยถิ่นที่สูง-ทุรกันดาร 10 จังหวัด ให้อยู่ในเกณฑ์สากลเท่าเด็กพื้นที่ปกติ หลังพบพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติร้อยละ 25 ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเด็กทั้งประเทศมากกว่าร้อยละ 20 เตรียมใช้มาตรการ “ 3 ปรับ 3 เพื่ม” กระตุ้นสร้างการมีส่วนร่วมครอบครัว ชุมชน

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นำทีมผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เยี่ยมชมการดำเนินงานจัดบริการประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลของสุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ( ตชด.)ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยอนุสรณ์บ้านแสนคำลือ บ้านแอโก๋-แสนคำลือ ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น 1 ในพื้นที่นำร่องโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยในพื้นที่สูง ห่างไกล ให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ เตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 5 ขวบนั้น มีความสำคัญมากถือเป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงคุณภาพของสมองเด็กโดยเฉพาะระดับไอคิวและอีคิวที่ส่งผลไปจนถึงตลอดชีวิต ในปีงบประมาณ 2560 กรมสุขภาพจิตได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยในพื้นที่สูง ห่างไกล เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีสติปัญญาและอารมณ์อยู่ในเกณฑ์สากลเท่ากับเด็กพื้นที่ปกติ โดยดำเนินการในสุขศาลาพระราชทานโรงเรียนตชด.ซึ่งให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลขั้นต้นแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เริ่มในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจำนวน 5 แห่ง คือที่บ้านแสนคำลือ บ้านแอโก๋-แสนคำลือ ตำบลถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน , บ้านห้วยกุ๊ก ต.ปอ.อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย, บ้านผาแดง ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ , บ้านพะคะเซ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และที่บ้านปอหมื้อ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยมอบให้สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ ดำเนินการ

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ผลการดำเนินการทั้ง 5 แห่ง พบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้ามากกว่าเด็กพื้นที่ปกติประมาณร้อยละ 25 ระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศมากกว่าร้อยละ 20 สาเหตุที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้า เกิดมาจากการขาดทักษะการเลี้ยงดู วัฒนธรรมบางชนเผ่าจะให้พี่ช่วยเลี้ยงน้อง เนื่องจากพ่อแม่ต้องทำงานในไร่ บางชนเผ่าให้ปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยงและเลี้ยงแบบตามใจ บางชนเผ่าที่เริ่มมีไฟฟ้าใช้ ก็เริ่มให้ลูกใช้โทรศัพท์มือถือ และเริ่มมีปัญหาเด็กติดโทรศัพท์ ส่งผลให้เด็กไม่ถูกกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กรวมทั้งความอบอุ่นผูกพันระหว่างกันลดลง เป็นเรื่องที่ต้องเร่งส่งเสริมแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ในปี2561นี้ จึงได้ขยายโครงการนี้ให้ครอบคลุมสุขศาลาพระราชทานฯที่มีทั้งหมด 20 แห่งทั่วประเทศใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา และนราธิวาส โดยจะพัฒนาคุณภาพงานพัฒนาการเด็กในสุขศาลาพระราชทานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพสุขศาลาพระราชทาน พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งเจ้าหน้าที่สุขศาลา ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อสม. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานทุกสุขศาลา และติดตามประเมินผลทั้งสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นด้วย

พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่สุขศาลาพระราชทานฯทั้ง 5 แห่ง ได้ใช้กระบวนกลุ่มเข้ามาช่วยทั้งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง และกลุ่มเด็กทั้งหมดในหมู่บ้าน ซึ่งเด็กจะเข้าใจภาษาชนเผ่าได้ดี โดยได้ปรับใช้เครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ใช้กับเด็กพื้นราบ และเพิ่มกลยุทธ์เสริม 3 ปรับ 3 เพิ่ม เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสการพัฒนามากที่สุด โดย 3 ปรับ คือ ปรับจากการฝึก/ออกคำสั่งให้เด็กทำ เป็นการ“เล่น” กับเด็ก ปรับจากการฝึกเด็กมาเป็น“ฝึกพ่อแม่” และปรับจากการฝึกรายบุคคล เป็นการทำ“กลุ่มครอบครัว” ช่วยให้ดูแลเด็กได้เพิ่มขึ้น ส่วน 3 เพิ่ม คือเพิ่มการสร้าง“ความฉลาดทางอารมณ์และความผูกพันในครอบครัว” เพิ่มการสร้าง “วินัยเชิงบวก” และเพิ่มการสร้าง“ทักษะและทัศนคติของผู้ปกครอง” ในการเลี้ยงลูก โดยไม่ตามใจทำแทนลูกทุกอย่าง หรือการโอ๋เอาใจลูก เนื่องจากจะทำให้เด็กขาดการกระตุ้นพัฒนาการ โดยหลังจากใช้กลยุทธ์ดังกล่าวกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยร่วมกับครอบครัว 145 ครอบครัว พบว่าได้ผลดีมาก เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นกว่าเดิมสูงถึงร้อยละ 80

สำหรับที่บ้านแอโก๋ แสนคำลือ ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน มีประชากรทั้งหมด 660 คน มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จำนวน 25 คน พบว่ามีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 74 มีพัฒนาการล่าช้าอยู่ระหว่างการกระตุ้นด้วยเครื่องมือที่โรงพยาบาลชุมชน 5 คน ซึ่งหลังจากที่กรมสุขภาพจิตจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการลงที่หมู่บ้าน พบว่าชาวบ้านและผ้นำชุมชนมีการตื่นตัวและให้ความร่วมมืออย่างดี เนื่องจากทุกคนต้องการให้เด็กมีคุณภาพ เรียนหนังสือเก่ง โดยในปี2561 อ.ปางมะผ้าได้นำรูปแบบตามกลยุทธ์ 3 เพิ่ม 3 ปรับ ไปขยายผลใช้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกตำบลด้วย

http://www.thaihealth.or.th/Content/39725-เร่งแก้ปัญหา%20%22ไอคิว-อีคิว%22%20หลังพบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย%2020.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,998
Page Views2,019,460
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view